ทองโบราณฝีมือช่าง จ.เพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีช่างหลากหลาย สาขา เช่น การเขียน การปั้น การแกะสลัก ฯลฯ ได้สร้างสรรค์งานฝีมือไว้เป็นมรดกของชาติเป็น จำนวนมาก โดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรมเครื่อง ทองรูปพรรณแบบโบราณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเสียงเป็น ที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นผลงานด้านหัตถศิลป์ ที่มีคุณค่า มีความประณีต งดงาม แสดงถึง เอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับฝีมือของช่างทอง การถ่ายทอดงานช่างทองจังหวัดเพชรบุรี มักสอนให้คนในครอบครัว และผู้ที่มีใจรักในศิลปะ ช่างทองที่ปรากฏหลักฐานคนแรกของจังหวัดเพชรบุรี คือ นายหวน ตาลวันนา หลังจากนั้น มีตระกูลช่างอื่นๆ ที่สืบสานงานศิลปหัตถกรรมเครื่องทองจนเป็นที่รู้จักกันดีใน เวลาต่อมา คือ ช่างทองตระกูล “สุวรรณช่าง” ตระกูล “ทองสัมฤทธิ์” ตระกูล “ชูบดินทร์” ตระกูลช่างทองเหล่านี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านงานช่างทองแก่ลูกหลานและศิษย์ไว้ หลายคน แต่ส่วนใหญ่เสียชีวิตไปเกือบหมดแล้ว บางคนอายุ มากและสุขภาพไม่ดีจึงเลิกทำทอง มีแต่ นางเนื่อง แฝงสีคำ ช่างทองเชื้อสายตระกูล “ชูบดินทร์” เพียงคนเดียวที่ยังคง ทำทองอยู่จนถึงปัจจุบัน ลักษณะเด่นของทองรูปพรรณของช่างทองเชื้อสาย ตระกูล “ชูบดินทร์” เป็นการผสมผสานระหว่างงานช่างกับ ศิลปะอย่างสมดุล เป็นผลงานที่เกิดจากความรู้ ผสานกับ อารมณ์ ความรู้สึกและใจรัก งานทุกชิ้นจึงมีความเป็น ตัวของตัวเอง ให้อารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งสร้างสรรค์ ไม่เลียนแบบผู้ใด และมีความประณีตงดงาม
|