พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน หัวหิน-ชะอำ
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังมีสถานที่อันเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันล้ำค่านามเป็น อาคารไม้ที่งดงามยิ่ง สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของพรรณไม้ร่มรื่นและหาดทราย ขาวสะอาดตา ผสานเสียงเกลียวคลื่นดังกระทบฝั่งอยู่เป็นระยะๆ นับเป็นบรรยากาศที่สงบและรื่นรมย์ดุจดังแต่กาล ก่อน เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำรวจตระเวนชายแดนค่ายพระรามหก และเมื่อผู้ไป เยือนเข้าไปตามเส้นทางที่มุ่งสู่หาดทราย ก็จะได้สัมผัสบรรยากาศอันเงียบสงบและร่มรื่น ของพระราชนิเวศน์อัน งดงามแห่งนี้ ซึ่ง ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ ปลูกเรียงรายไปตามแนวชายหาด ทุกองค์สร้างอย่างแบบ ยุโรปสิ่งที่น่ายกย่องของสถานที่แห่งนี้ ได้แก่ ความตั้งใจและความพยายาม ที่จะสร้างที่ประทับ ให้เหมาะสมกับ สภาพภูมิประเทศและ ภูมิอากาศอย่างแท้จริงโดยปรับให้เข้ากับภูมิอากาศของไทยที่ร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี
นับตั้งแต่ใต้ถุนที่โปร่งโล่ง เปิดรับลมทะเลที่พัด เข้าสู่หมู่พระที่นั่งให้ความเย็นสบายตลอดวัน หลังคาทรงปั้นหยาซึ่ง กันแดดและฝนได้ดี กระเบื้องมุงหลังคาทำด้วยซีเมนต์เคลือบสีแดง แนวระเบียงเชื่อมองค์พระที่นั่งทั้งสามอย่าง ฝรั่ง ที่เรียกว่า คัฟเวอร์เวย์ (Cover Way) ให้ความสะดวกสบายและปลอดภัยในการสัญจรไปมา ไม่ต้องเดินขึ้นลง บันไดบ่อยๆ พื้นระเบียงและพระที่นั่งทำด้วยไม้สักลงเงา ดูโอ่อ่าสวยงามยิ่ง ส่วนเพดาน ใช้คานไม้ดัดโค้งบรรจุ ระหว่าง ช่วงเสาทุกช่วงตลอดแนวระเบียง เพิ่มความอ่อนช้อยให้กับพระราชนิเวศน์ เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรม ยุโรปซึ่งจัดจังหวะโค้งของวงกบหน้าต่างตอนบน ให้ความอ่อนหวานและยังคงได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ มีตำนานที่เล่าขานต่อๆ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์์นั้น องค์พระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้น สลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ยามนั้นพระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วย น้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อพระราชวังแห่งความรักและ ความหวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพร้อมด้วย สมเด็จ พระนางเจ้าสุวัฒนาฯ อีกครั้งระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2468การเสด็จครั้งนี้เสมือน หนึ่งการเสด็จมาเพื่ออำลาพระราชนิเวศน์ที่ทรงรักโดยแท้ เพราะเมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว ต่อมาไม่นานก็เสด็จ สวรรคต
จากวันนั้นนับเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วม 70 กว่าปีแล้ว พระราชนิเวศน์ได้ถูกทอดทิ้งจนทรุดโทรมลงเป็น ลำดับ จนกรมตำรวจได้เข้ามาดูแลเป็นการถาวร โดยใช้เป็นที่ตั้ง กองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและได้ทำการบูรณะซ่อมแซม ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมจนงดงามร่มรื่น วันนี้ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ได้เผยความงามอันล้ำค่าจากงานฝีมือของช่างไทยและช่างยุโรปในอดีต ผสมผสาน มาเป็น งานสถาปัตยกรรมอันงดงามนุ่มนวล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าไปเยี่ยมเยือน และควรแก่การทะนุถนอม หวงแหนเป็นมรดกล้ำค่าของอนุชนชาวไทยสืบไป
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประกอบด้วย พระที่นั่งสามองค์ คือ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระที่นั่งสมุทรพิมาน
1. พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์
สร้างเพื่อเป็นที่ประชุมและจัดงานสโมสรต่างๆ รวมถึงการแสดงละคร ซึ่งพระองค์โปรดอย่างยิ่ง ลักษณะเป็นอาคาร ไม้สองชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นล่างเป็นโถงโล่ง ชั้นบนด้านทิศใต้ มีระเบียงเป็นที่ี่ประทับ เวลาเสด็จออก และมี ระเบียบรอบ ปล่อยส่วนกลางโล่ง หลังระเบียงที่ประทับ มีห้องซึ่งปัจจุบันจัดแสดงเรื่องราว และสิ่งของที่เกี่ยวข้อง กับความเป็นมา และการบูรณะพระราชนิเวศน์แห่งนี้ไว้อย่างน่าชม
2. พระที่นั่งสมุทรพิมาน
มีทางเดินเชื่อมต่อจากพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ลงมาทางใต้ พระที่นังองค์นี้เคยเป็นที่ประทับในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ อาคารด้านหน้า ประกอบด้วย ห้องสรง ห้องพระบรรทม และห้องทรงพระอักษร ซึ่งมีการจัดวาง สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องเรือน ส่วนพระองค์ให้ชม อาคารส่วนกลางเป็นห้องโล่งกว้างมีเพียงลูกกรงกั้นโดยรอบ ลักษณะคล้ายศาลา เป็นที่ซึ่งพระองค์โปรดประทับในเวลากลางวัน ปัจจุบันจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐาน พระบรมรูปให้คนทั่วไปได้สักการะ อาคารด้านหลังปีกทางทิศใต้ เคยเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัทนาพระวร ราชเทวี ในการเสด็จประทับครั้งที่ 2 จากด้านหน้าของพระที่นั่งองค์นี้ มีทางเดินทอดยาวไปจดชายหาดพร้อม ทั้งมีพลับพลาสำหรับเปลี่ยนเครื่องทรง เมื่อเสด็จลงสรงน้ำทะเลด้วย
3.พระที่นั่งพิศาลสาคร
อยู่ถัดจากพระที่นั่งสมุทรพิมาน ไปทางทิศใต้ เคยเป็นที่ประทับของพระนางอินทรศักดิ์ศจี ในการเสด็จมาประทับ ครั้งแรก และเป็นกลุ่มอาคารสำหรับฝ่ายใน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และเป็นเอกเทศจากส่วนที่ประทับ มีบันได ขึ้นลงชายหาดและพลับพลาริมทะเล ซึ่งทอดขนานไปกับ พระที่นั่งสมุทรพิมาน ซึ่งเป็นส่วนของฝ่ายหน้า 4.สวนเวนิสวานิช
สวนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่องThe Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ที่พระองค์ท่านทรงคงลีลาและฉันทลักษณ์ การแปล ไว้คำต่อคำใกล้เคียงกับต้นฉบับจริงมากที่สุดสวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนส ซองและที่กำหนด สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานก็เพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ในบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์
5.สวนศกุนตลา
ลานกว้างที่ใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเหมือนเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ จากสวนศกุนตลาพื้นอิฐหกเหลี่ยม สีแดงอ่อนตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ทอดยาวพาเราไปด้านหน้าทางขึ้นพระราชวังที่รายล้อม ด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอกที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพเขียนสีน้ำมันที่จิตรกรเอกบรรจงวาดอย่าง ไว้ อย่างสุดฝีมือ 6.สวนมัทนะพาธา
รอบด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ อันเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้ถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง และได้รับการยกย่อง ว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ "สวนมัทนะพาธา ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น ทนต่อแดด และไอทะเลได้ดีนั่นเอง
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน
- วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. - วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. - ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท รับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือถึง ผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3250 8039 1.รถยนต์ส่วนตัว
จาก อ.ชะอำ ใช้ ถ.เพชรเกษม ผ่านสี่แยกชะอำ โรงแรมรีเจนท์ชะอำ จนถึงหลัก กม.216 ซ้ายมือจะเป็นประตูทางเข้า ค่ายพระรามหก เข้าไปประมาณ 3 กม. มีป้ายบอกเป็นระยะ พระราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ริมทะเล 2.รถโดยสารสาธารณะ ขึ้นรถสายเพชรบุรี - หัวหิน หรืออาจนั่งรถตู้หน้าเซ็นจูรี่สายหัวหิน ลงตรงหาดชะอำแล้วต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มาส่งเที่ยวเดียว ราคาประมาณ 60 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
|